
หนู – กองทัพซุ่มเงียบอยู่ทั่วโลก
หนูเป็นศัตรูรบกวนและพาหะตัวฉกาจสำหรับมนุษยชาติ โดยหนูที่พบตามบ้านเรือนแบ่งได้ 3 ชนิดหลักๆ คือ
1. หนูท่อ (Rattus norvegicus)
2. หนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus)
3. หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus)
หนูอาศัยอยู่ได้ทุกทวีปทั่วโลก เป็นสาเหตุของการทำลายและสูญเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างมาก ทั้งทำลายข้าวของและเป็นพาหะนำเชื้อโรค
ราทราบกันเป็นอย่างดีว่า หนูเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ เช่น โรคฉี่หนู (โรคเลปโตสไปโรซิส) โรคไทฟอยด์ และแม้กระทั่ง ซาลโมเนลโลซิส นอกจากนี้หนูยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อปศุสัตว์รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
ความสะอาดเป็นปัจจัยหลักในการจัดการหนู
การตรวจสอบพื้นที่อย่างละเอียดเพื่อกำหนดขอบเขตที่หนูเข้าบุกรุกและชนิดของหนู
การควบคุมจึงควรเริ่มจากการรักษาความสะอาด โดยการกำจัดเศษอาหารที่เหลือตกค้างให้หมด รวมทั้งเคลื่อนย้ายกองปฏิกูล กองขยะที่จะสามารถเป็นแหล่งแพร่พันธุ์หรือหลบซ่อนได้ นอกจากนี้การป้องกันตามจุดเสี่ยงต่างๆที่หนูจะเล็ดลอดเข้ามาในพื้นที่ได้ ก็มีความสำคัญ เช่น ปิดช่อง รู ต่างๆให้มิดชิด
กับดักหนู สามารถใช้ได้ในกรณีที่จำนวนหนูยังไม่มากนัก แต่หากมีหนูจำนวนมากแล้วประสิทธิภาพของกับดักจะเหลือน้อยลง
การจัดการหนู
เหยื่อกำจัดหนูที่ถูกวางอย่างถูกวิธีตามทางเดินที่หนูใช้ในการหาอาหาร เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดหนูส่วนมากเป็นกลุ่ม anti-coagulant ซึ่งจะออกฤทธิ์ให้หนูตายโดยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาหลายวัน (ประมาณตั้งแต่ 4-6 วัน)
สารกลุ่ม Anti-coagulants แบ่งออกเป็น 2 แบบ:
– Single dose (การได้รับสารเพียงครั้งเดียวแล้วตาย)
– Multi-dose (การได้รับสารมากกว่า 1 ครั้งแล้วตาย)
สำหรับผลิตภัณฑ์เหยื่อกำจัดหนูแบบได้รับสารออกฤทธิ์ครั้งเดียวคือ ตายหลังจากการกินเหยื่อกำจัดหนูเพียงครั้งเดียว ซึ่งใช้เวลาหลายวัน (ประมาณ 4-6 วัน) ก่อนจะตาย ในขณะที่สารกลุ่มที่ต้องรับมากกว่า 1 ครั้ง หนูจะกินอาหารมากกว่า 1 ครั้งและสะสมสารออกฤทธิ์และค่อยๆตายใน 4-6 วัน เช่นกัน ข้อได้เปรียบของสารในกลุ่ม multi-dose (กลุ่มที่ต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง) คือ จะลดความเสี่ยงในการส่งต่อสารออกฤทธิ์ไปยังสัตว์อื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย เช่น นกแสกหรือแมวในกรณีที่สัตว์นั้นมากินซากหนูที่ตายจากเหยื่อกำจัดหนู
